ผู้เขียน หัวข้อ: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG  (อ่าน 21668 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« เมื่อ: 07/01/11 23:23:28 »
 
เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องเสียงรถยนต์      เขียนโดย พงษ์เผ่า ทองธิว  
 
สวัสดีครับสำหรับบทความของ เทคนิคเครื่องเสียง ก็กลับมาโลดแล่นบนเวปไซท์กันอีกครั้ง ผมก็เลยได้โอกาสเอาบทความการเลือกซื้อ HEAD-UNITมาแนะนำกันครับว่าการจะเลือกซื้อวิทยุติดรถยนต์สักเครื่องนั้น คุณจะรู้ว่าเครื่องรับซีดีเครื่องไหนเหมาะสมและมีส่วนสำคัญที่ต้องรู้อย่างไรในการเลือกซื้อ

 

สิ่งแรกที่คุณต้องการทำคือทำให้แน่ใจคุณเลือกวิทยุที่เหมาะสมกับงบประมาณและเหมาะสมกับการใช้งานในรถ ที่สำหรับจะติดตั้งในส่วนที่เรียกว่า in-dash ตรงช่องหน้าปัดรถของเราครับและเราจะต้องดูว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่เราต้องการที่จะเล่นกันfrontยี่ห้อไหนมากที่สุดเช่น เครื่องรับวิทยุ-ซีดี หรือ DVD การรู้ชนิดแผ่น program หรือ แผ่น softwareว่าจะเป็นformatอะไรที่คุณต้องการเล่นและสถานที่ที่เราจะสามารถหาข้อมูลก็ได้จากหนังสือหรือจะเป็นร้านติดตั้งหรือร้านตัวแทนจำหน่ายเป็นสถานที่ดีที่จะเริ่มต้นหาข้อมูลก่อนจะซื้อ front สักตัวนึงเพราะถ้าซื้อผิดแล้วก็ต้องคิดหนักละครับเพราะfrontตัวหนึ่งไม่ใช่ราคาถูกๆนี่ครับเครื่องรับซีดีใหม่รุ่นใหม่ๆส่วนมากสามารถเล่นแผ่นบันทึกซีดีได้ทั้งแบบCD-R,CD-RWและDVDเครื่องรับวิทยุ-ซีดีติดรถยนต สมัยใหม่หรือรุ่นใหม่ๆนี้สามารถถอดรหัสMP-3กันได้แทบจะทุกยี่ห้อและยังสามารถ เล่นแผ่น DVD ได้อีกด้วย นอกจากจะสามารถแล่นแผ่นได้หลากหลายแบบแล้วสิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องเลือกหาและให้ความสำคัญกับมันนั่นก็คือคุณจะได้ความสะดวกในการปรับแต่งระบบเสียงอย่างไรมีรูปแบบและลูกเล่นอย่างไรบ้างในตัว Front ที่เราต้องการเลือกซื้อ

 

Specification
เนื่องจากเพราะตัว specs นั้น สามารถแบ่งและบ่งบอกบอกได้ถึงคุณภาพของตัวfrontได้มากกว่าการที่เราจะมานั่งฟังหรือทดสอบดูด้วยตัวเองยกตัวอย่างเช่นเครื่องเล่นซีดีที่ให้ค่าอัตราการขยายสัญญาณเสียงต่อสัญญาณกวนหรือค่า S/N(SIGNAL TO NOISE RATIO)สูงกว่าเครื่องเล่นเทปปรกติและจะให้สัญญาณเสียงที่ ใสสะอาดปราศจากเสียงรบกวนภาคถอดรหัสสัญญาณเสียง A to D Converter ดูว่ามีอัตราารสุ่มอยู่ที่เท่าไรโดยมาตรฐานของ CD จะอยู่ที่ 44.1 KHz เท่านั้นครับ (Sampling rate) และจำนวนความละเอียดของสัญญาณเสียงในการแปลงสัญญาณนั้น จะเริ่มตั้งแต่ 16bit ไปจนถึง24bit ไม่นับรวมแบบ1bitซึ่งเป็นการแปลงสัญญาณเสียงคนละรูปแบบกันครับ นอกจากนั้นเครื่องรับวิทยุ-ซีดียังสามารถให้ตอบสนองความถี่ที่กว้างกว่าและมีรายละเอียดของเสียงที่มากมายกว่าครับส่วนจะได้มากน้อยแค่ไหนนั้นคงต้องอาศัยการทดลองฟังดูเอาล่ะครับ

จากตัวfront นั้น หากเราต้องการ ทดลองหรือทดสอบอย่างละเอียดแล้วเรายังสามารถใช้เครื่องขยายเสียง เช่น POWER AMP ติดรถยนต์ ที่ร้านติดตั้งนั้นมีอยู่มาใช้ทดสอบเสียงร่วมกันได้อีกด้วยเพื่อให้สามารถรับรู้ถึงคุณภาพของ Front ที่เราจะเลือกซื้อ ได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ

กำลังขับ
ปัจจุบันนี้เครื่องเล่น CD RECIVER ที่ใช้สำหรับติดตั้งในรถยนต์ นั้น สามารถ ให้ กำลังขับ ที่ มี Out Put Power ได้ค่อนข้างสูงพอสมควร และโดยมาก ก็จะมี out put มาให้ ถึง 4 out put สำหรับ ลำโพงที่ติดตั้ง ทางด้านหน้า และลำโพง ที่ติดตั้ง อยู่ที่แผง Realdesk ทางด้านหลัง หรือบางยี่ห้อก็จะมีสัญญาณสำหรับSub woofer มาให้ด้วย ซึ่งแต่ละout put นั้น ปัจจุบันก็ให้กำลังขับสูงถึง 50 X 4 WATT แต่สิ่งที่เราควรจะต้องเลือกดูก็คือค่า ของกำลัง watt ที่ ตัวผู้ผลิตกำกับมาให้ที่ตัวFrontนั้นมีค่าลงท้ายเป็นอย่างไรเมื่อตรวจสอบเครื่องรับซีดีจนแน่ใจแล้วว่าเครื่องหมายที่ลงท้ายตัวเลขกำลังขับนั้นเป็นRMSก็ให้แน่ใจได้เลยว่าเราได้ค่ากำลังขับจริงจากตัวFrontที่เราเลือกหาไว้ครับ

ภาคเครื่องรับวิทยุ Tuner
ต้องดูด้วยว่าสามารถที่จะทำการรับสัญญาณวิทยุได้อย่างชัดเจนหรือไม่ลองทดสอบและทำการเปลี่ยนช่องสัญญาณไปเรื่อยเพื่อดูว่าสามารถรับสัญญาณได้ชัดเจนและมีเสียงรบกวนจาก การ ถอดรหัส สัญญาณ วิทยุปนออกมาด้วยหรือไม่เพราะจะเป็นตัวบ่งบอกว่าภาครับวิทยุนั้นมีประสิทธิภาพในการรับสัญญาณ มากน้อยแค่ไหนทั้งภาครับ FMและAM

การปรับแต่งเสียง EQ
โดยส่วนมากเครื่องรับวิทยุ-ซีดีทุกยี่ห้อได้ติดตั้งระบบปรับแต่งสั­­าณเสียงมาให้เพื่อให้เราสามารถปรับแต่งลักษณะรูปแบบของเสียง(shaping)ที่เราฟังจากแผ่นCD โดยเรามารถเริ่มต้นการปรับแต่งได้อย่างง่ายๆด้วยภาคการปรับแต่งเสียงBassและtrebleจากส่วนควบคุมที่หน้าปัทม์ของเครื่องรับวิทยุ-ซีดีและเครื่องรับวิทยุ-ซีดีส่วนมากจะให้มาตั้งแต่หนึ่งหรือมากกว่าFunctionการปรับแต่งเสียง ปรกติที่มีลักษณะการปรับแต่งดังนี้ครับ

loudnessสำหรับเสียงในช่วงความถี่ต่ำโดยรวม เพื่อเพิ่มความรู้สึกให้รับรู้ถึงเสียงต่ำที่เพิ่มมากขึ้นภาค preset เป็นภาคการปรับแต่งที่ ทางโรงงานตั้งมาให้ ซึ่งจะแสดงผลของรูปแบบ EQ เป็นเส้นโค้งบนหน้าจอgraphicสำหรับให้ผู้ใช้งานมองเห็นการปรับแต่งได้อย่างง่ายดายและสวยงามวันนี้เครื่องรับวิทยุ-ซีดีให้ตัวเลือกที่มากมายในการเลือกซื้อเลือกหามากมายและยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เราจะลืมเสียไม่ได้นั่นก็คือ

Preamp OUT PUT
เป็นภาคสัญญาณ out-put สำหรับต่อเข้ากับระบบเครื่องเสียงในภาคของ poweramp ที่จะพูดถึงต่อไปในคราวหน้าครับ ซึ่งหากภาค preout นั้นมีหลายชุด ก็จะทำให้การเชื่อมต่อเข้ากับระบบที่เราเพิ่มเติมเข้าไปนั้นมันจะง่ายกว่าทั้งส่วนของลำโพง ทางด้านหน้า ด้านหลังหรือ การต่อร่วมใช้งานกับลำโพง subwoofers และถ้าเครื่องเล่นของคุณ สามารถเล่น แผ่นMP-3และสมัยนี้ก็สามารถเล่นผ่าน USBหรือ SD card แล้วก็ยิ่งทำให้สะดวกจน แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกันเลยครับเพราะคุณสามารถควบคุมรายชื่อเพลงหรือเลือกเล่นเพลงได้จากหน้าจอหรือ Remote control ได้ อย่างง่ายดายครับ ก็ลองเลือกเล่นหรือเลือกซื้อหาได้ตามร้านค้าทั่วไปละครับเลือกในด้านของความคุ้มค่าผมว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับคราวหน้าจะมาพูดถึงภาคต่อของ เทคนิคเครื่องเสียงและจะเข้มข้นมากขึ้นสลับกันไปกับบทความอื่นๆ ขนาดไหนลองติดตามอ่านกันต่อไปละกันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/02/11 06:26:46 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07/01/11 23:40:25 »
การออกแบบ เพาเวอร์แอมป์ ตอนที่1

สำหรับบทความนี้ เราจะมาดูเรื่องของการเลือกใช้ประเภทของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ สำหรับการออกแบบในขั้นต้นกันครับ

สำหรับรูปแบบของการออกแบบวงจรขยายนั้น เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า มีตัวแปร อยู่สองชนิดให้เราได้เลือกใช้งาน

สำหรับการออกแบบวงจรภาคขยาย ทั้งในภาคขยายส่วนหน้าและภาคขยายส่วนหลัง ว่าจะเลือกใช้อะไรที่สามารถ

ตอบสนองความต้องการของนักฟังได้มากที่สุด และมีเสถียรภาพการทำงานที่ดีที่สุดด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/02/11 06:29:56 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 07/01/11 23:42:06 »
เราจะเลือกใช้งาน อะไรดีระหว่าง ทรานซิสเตอร์ หรือ เฟต
 
Transistor

จากที่เราได้เห็นวงจรของภาคขยายทั่วๆ ไป นั้นมักจะใช้ เฟตเป็นวงจรขยายในภาคแรก ทั้งที่ใช้ เฟต เป็นตัวๆ

และใช้ เป็นรูปแบบของ Integrate circuit หรือ IC แบบ เฟต ที่มีการรบกวนต่ำ กว่าการใช้ IC ปรกติทั่วไป

แต่ในส่วนของตัวเฟตเองนั้น ก็มีทั้ง ข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองจากการที่เราจะเลือกเฟต

มาใช้งานในวงจรภาคขยายนั้นเราควรที่จะรู้ถึงคุณสมบัติการทำงานของมันให้ดียิ่งขึ้น
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 07/01/11 23:44:19 »
คุณสมบัติ ของเฟต ต่ออูณหภูมิ        
             ตัวของอุปกรณ์แบบเฟต นั้นหากเรามองดูรูปแบบ ของกราฟลักษณะสมบัติที่ทางผ็ผลิตให้มาแล้วนั้น ตัวมันเองจากการที่เราดูการทำงานของมันจากกราฟเมื่อเทียบกับ อูณหภูมิแล้ว ตัวของมันเองนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงตามอูณหภูมิ ได้ง่ายอย่างอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำแบบ Transistor ซึ่งจากการที่เราดูรูปของกราฟที่แสดงถึงค่าการเปลี่ยนแปลงของอูณหภูมิแล้ว และเมื่อกระแสไหลผ่าน เข้าที่ ขา เดรนของ เฟต แล้วนั้นเราจะเห็นว่า ตัวมันเองนั้นแทบจะไม่ขึ้นอยู่กับอูณห๓มิ เท่าใดนัก และค่าสัมประสิทธิของของอูณหภูมิ ของกระแสเดรนนั้น มีค่าเข้าใกล้เทียบเคียงกับค่า ศูนย์เป็นอย่างมาก ฉะนั้นเราสามารถออกแบบให้การทำงานของเฟต ด้วยการจัดBIAS ให้เฟตสามารถมีจุดทำงานสงบในจุดนั้นได้อย่างไม่ยากเย็นเลยและจากรูปกราฟลักษณะสมบัติของแรงดัน เกทและซอร์สกับกระแสเดรน  เมื่อเทียบกับกระแสที่อูณหภูมิค่าต่างๆแล้ว แต่สาเหตุที่ทำให้การใช้งานเฟต นั้นมีข้อจำกัดก็เนื่องมาจากการที่ตัวของมันเองนั้นจะมีค่าการรั่วของกระแสภายในที่เกท ในบางเบอร์ ออกมามากเกินไปหรือบางเบอร์อาจมีค่า VGS ไม่คงที่เท่าๆกันสำหรับเฟตทุกๆ ตัวดังนั้น รูปแบบการทำงานของวงจรขยายที่ใช้เฟตในการออกแบบการทำงานนั้นอาจจะขาดเสถึยรภาพการทำงานของวงจรไปบ้าง แพราะหากเราเลือกใช้เฟตในเบอร์ที่มีปัญหาในเรื่องของกระแสรั่วไหลภายในหรือ แรงดันที่ไม่คงที่ของ VGS ซึ่งอาจทำให้เราประสปปัญหากับการออกแบบวงจรขยายที่ใช้เฟตเป็นตัวหลักในการทำงานของวงจรและอาจเกิด ออฟเซ็นและดริฟส์ ในวงจรภาคขยายขึ้นมาได้
 FET
สำหรับทรานซิสเตอร์นั้น ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบการทำงานที่ต้องพึ่งพากระแสที่ไหลผ่านมากกว่าเฟต ก็ตาม และทรานซิสเตอร์นั้นมีรูปแบบการทำงานที่ทำให้การทำงานของตัวมันเองนั้นมีค่าการทำงานทางอูณหภูมิที่ไม่มีความเสถียรมากนักแต่สิ่งที่สามารถทำได้ดีกว่าอุปกรณ์แบบเฟตนั่นก็คือ มีค่าของอัตราการขยายที่มากกว่าเฟต ทำให้เราสามารถนำทรานซิสเตอร์มาออกแบบวงจรขยายสำหรับ ออดิโอไฟล์ได้อย่างไม่ยากเย็นก็เพราะว่ามันสามารถนำมาใช้ในการออกแบบแบบวงจรให้มีค่าความเพี้ยนต่ำ ๆได้เป็นอย่างดีแต่ก็ต้องรู้ถึงจุดอูณหภูมิการทำงานของตัวทรานซิสเตอร์ด้วยว่า มันมีจุดการทำงานได้กว้างขนาดไหน ฉะนั้นวงจรขยายที่ออกแบบด้วยทรานซ์ซิสเตอร์นั้น จึงสามารถให้การถ่ายทอดเสียงที่ดีกว่าวงจรขยายที่ออกแบบด้วยอุปกรณ์เฟตได้อย่างไม่มีปัญหาหากเราสามารถเลือกใช้และออกแบบวงจรที่มีความสามารถในการชดเชยอูณหภูมิได้อย่างถูกต้องครับ เอาละครับครั้งหน้าเรามาดูในเรื่องของการเลือกใช้อุปกรณ์ว่าควรจะใช้แบบไหนกันดี อาจจะแอดวานซ์ไปหน่อยแต่ไม่เหนือบ่ากว่าแรงสำหรับคนที่สนใจเครื่องสียงโดยเฉพาะท่านที่สนใจโมดิฟายเครื่องเสียงอย่าพลาดเชียวครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/01/11 23:47:29 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 07/02/11 06:35:29 »
ออกแบบเพาเวอร์แอมป์ 2  เขียนโดย พงษ์เผ่า ทองธิว    .

Class ของ Power amplifier

รูปแบบของ  "power amplifier" นั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบแต่ที่เราเคยใช้งานและคุ้นเคยนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่แบบเท่านั้นในระบบเสียงและโดยทั่วไปแล้ว pออกแบบมาให้ ใช้เป็นตัวส่งผ่านสัญญาณเสียงในลักษณะของการขยายกำลังเพื่อให้ได้ กำลังหรือขนาดของสัญญาณที่ใหญ่ขึ้น (output stage) ซึ่งผลของกำลังที่ได้ออกมานั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของการจัดการวงจรขยายหรือเรียกง่ายๆได้ว่า classes ของ Amplifier นั่นเองครับ

 การจัดรูปแบบของวงจรขยาย
การจัดวงจรของ Power amplifier (output stages) สามารถแบ่งออกได้เป็นรูปแบบแยกย่อยได้ดังนี้ (classified) ได้แก่ Class A, ClassB, Class AB และ ClassC สำหรับการจัดวงจรขยายในแบบ อนาล็อค หรือการทำงานในแบบ Linear และ class D และ E สำหรับการ จัดวงจรในแบบ  switching amplifier ลักษณะการทำงานแบบนี้ไม่ใช่การทำงานในแบบ ดิจิตอล อย่างที่เข้าใจกัน แต่ก็ยังเรียกกันว่าแอมป์ดิจิตอล ตามแบบที่ฝรั่งเขาเรียกกัน เพียงแต่รูปแบบของสัญญาณจะเป็นรูปแบบการทำงานแบบ On และ Off ที่ให้ผลทางเอาท์พุทออกมาไม่เป็น Sine เต็มรูปแบบ คือ มีขอบเหลี่ยมด้านบน มากกว่า เพาเวอร์ แอมป์ในคลาสทั่ว ๆไปทำให้เกิดเป็นรูปทรงที่คล้ายสัญญาณดิจิตอล ซึ่งลักษณะการทำงานก็คล้ายคลึงกับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ PUSH-PULLทั่ว ๆไป ซึ่งเป็นสัญญาณรูปทรงโค้งแบบปรกติ แต่มักจะใช้กันในวงจรสวิทช์ชิ่งเสียมากกว่าในสมัยนั้น เพราะคุณภาพและเทคนิคที่จะทำให้ขอบสีเหลี่ยมมีความโค้งมลนั้นยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มรูปแบบ การส่งผ่านสัญญาณผ่านทางภาคขยายเอาท์พุทของวงจร โดยสัญญาณที่เข้ามาทางอินพุทของวงจรขยายจะออกไปทางเอาท์พุทของวงจรในภาคขยายสุดท้ายซึ่ง จะต้องมีสัญญาณออกมาให้ครบ 360° ( sinusoidal signal) ซึ่งสัญญาณที่ได้ออกมานั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของวงจรขยาย(power efficiency).  ที่ได้เลือกเอามาใช้งาน ซึ่งในส่วนนี้นั่นเองที่เราจะมาแนะนำให้เข้าใจถึงรูปแบบการใช้งานและรายละเอียดของการจัดรูปแบบสำหรับวงจรขยายว่ามีความเป็นมาอย่างไรและเราสามารถเลือกใช้รูปแบบใดของวงจรขยายเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดในการ ขยายสัญญาณเสียงได้อย่างไร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/02/11 06:37:12 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 07/02/11 06:42:11 »
ภาคขยายในแบบ Class A
รูปแบบของการจัดวงจรขยายในแบบ Class A นั้นจะใช้ สัญญาณจาก สัญญาณอินพุท ถึง 100% เพื่อให้ได้สัญญาณเอาท์พุท ที่ มีค่าครบตาม ความเป็นจริงของ สัญญาณ ทางอินพุท (360°หรือ 2π) นอกจากนี้วงจรขยายในแบบ  Class A นั้นจะทำงานที่มีความเป็นเชิงเส้นสูง( linear) มีความเพี้ยนต่ำ มากกว่ารูปแบบการขยายในแบบอื่นๆแต่ก็มีอัตราการสูญเสียกำลังงานออกไปรูปแบบของความร้อนที่สูงมากกว่า เนื่องจากมีการไบอัสตลอดเวลาไม่ว่าจะมีสัญญาณอินพุทหรือไม่มีก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากรูปแบวงจรการขยายแบบอื่นๆหรือมี power efficiency สูงมากกว่า การทำงานในวงจรขยายแบบอื่นๆแต่มีกำลังขับที่ได้ออกมาต่ำมากเมื่อเทียบกับกำลังงานที่ใช้ไป นั่นเอง (relative inefficiency). แต่สิ่งที่ได้กลับมาไม่เป็นดังผลของกำลังงานที่เสียไปเพราะเพาเวอร์แอมป์ในแบบ Class A นั้น ให้ผลของกำลังขับที่ได้ ต่ำเอามาก ๆ แต่การจัดวงจรขยายนั้นก็ใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่น้อยตามไปด้วยซึ่งนับว่าน้อยกว่าในClass อื่นๆมากทีเดียว แต่สำหรับคอ ไฮ-เอ็น แล้ว เพาเวอร์แอมป์ในแบบหลอดสูญญากาศ ­(Vacuum tube)ที่จัดวงจรแบบวงจรเดี่ยวก็สามารถจัดได้ว่า เป็นการทำงานในแบบ class A stages ด้วยเช่นกัน

Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 07/02/11 06:43:47 »
Class B
รูปแบบของวงจรขยายในแบบ Class B นั้นจะใช้กำลังงานเพียงครึ่งหนึ่งของ สัญญาณทางอินพุท (Θ = 180° ซึ่งการทำงานแบบนี้จะใช้รูปแบบการทำงานทีล่ะครึ่งช่วงคลื่นของสัญญาณที่จะเข้ามาทำการขยาย โดยใช้อุปกรณ์ สำหรับ output devices สองชุดเพื่อการสลับกันทำงานในแต่ล่ะซีกสัญญาณ (alternately) หรือ push–pull สำหรับ 180° หรือ half cycle ของสัญญาณ อินพุท ซึ่งโดยมากมักจะใช้กันในการวงจรขยายสัญญาณวิทยุเสียมากกว่า   (RF amplifiers)

แต่จดที่สำคัญที่ไม่นิยมก็เนื่องมาจากมีความเพี้ยนที่จุดตัดที่ข้นค่อนข้างชัดเจน (crossover distortion) แต่ข้อดีก็คือมีกำลังงานสูงหรือสามารถขยายสัญญาณได้สูง มากกว่าเพาเวอร์แอมป์ในแบบ Class Aซึ่งเป็นผลมาจากการ ทำงานของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์สองตัวในภาขยายสุดท้าย ซึ่งใช้ อุปกรณ์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำที่ต่างชนิดกัน      ( two complementary transistors) นั่นคือครึ่งซีกหนึ่งใช้อุปกรณ์ในการขยายสัญญาณด้วยทรานซิสเตอร์ในแบบ  PNPและอีกครึ่งซีหนึ่งใช้อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำอีกชนิดหนึ่งในแบบ  NPN ซึ่งก็คือ สารซิลิกอน และเยอรมันเนียม นั่นเอง  แต่การจัดวงจรนั้นใช้การจัดวงจรโดยการนำขา emitter ของ ทรานซิสเตอร์ทั้ง สองชนิด มาใช้งานร่วมกัน (emitter terminals in common
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/02/11 06:46:34 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 07/02/11 06:45:40 »
Class AB
เพาเวอร์แอมป์ที่ออกแบบ มาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานของ Class Aและ Class B ซึ่งมีผลเสีย ของการทำงานที่แตกต่างกัน  ทั้งในแง่ของการใช้พลังงานที่ สูญเสียในรูปของความร้อนหรือรูปแบบการทำงานที่เกิดขึ้นจากความเพี้ยนที่จุดตัดของ ภาคเพาเวอร์เอาท์พุท สำหรับ Class AB นั้น ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ของ เพาเวอร์แอมป์ ทั้ง 2แบบ ดังที่กล่าวมาข้างต้นด้วยการใช้รูปแบบ การทำงานของ ทั้ง Class AและB มาทำงานร่วมกัน โดยจะทำการแบ่งกันขยายสัญญาณจากอินพุทซีกละครึ่งช่วงคลื่นของสัญญาณในเวลาเดียวกันและจัดรูปแบบการไบอัสเพื่อจ่ายกระแสอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับClass A แต่ก็สร้างความแตกต่างของสัญญาณที่ทำการขยายที่เหลื่อมกันเล็กน้อยหรือ หรือเรามักจะเรียกกันว่า เกิดการ Cross-over distortions ที่จุดตัดสัญญาณของแต่ละซีกของวงจรขยายนั่นเอง แต่ก็ได้สิ่งที่แลกมาด้วยความสมารถในการขยายสัญญาณที่สูงมาก ๆได้ดีกว่าClass A และมีความเพี้ยนที่ต่ำกว่าClass B เอาล่ะครับนี่ก็เป็นเพียงการเริ่มต้นของรูปแบบวงจรขยายให้เราได้พอกล้อมแกล้มคราวหน้าจะมาเริ่มทำการออกแบบงจรขยายกันต่อล่ะครับ แต่ขอทิ้งท้ายไว้สักนิด ไม่ว่า เพาเวอร์แอมป์ Class A หรือ Class AB เราจะได้กำลังขับสูงสุดที่เท่ากันทำไมถึงเท่ากันเพราะในบท  ความบอกว่าไม่เท่ากัน เอาไว้ ติดตามอ่านไปหลาย ๆตอน จะมาเฉลยให้ฟังกันครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/02/11 06:47:04 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

MR.Prakarn Lengprasert

  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 2,103
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 07/02/11 07:57:18 »
ขอบคุณเอียนพมากครับสำหรับกระทู้นี้มีประโยชน์มากๆครับ

โจโจ้

  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 959
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 07/02/11 16:45:59 »
ยังไม่ได้อ่าน แต่มาขอบคุณก่อนครับ เพราะรู้ว่าเป็นสาระดีๆ แน่ๆ
ขอบคุณเฮียนพด้วยครับ

minny

  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 3,533
  • ระบบเล็กๆ
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 07/02/11 19:03:42 »
ท่าจะได้อ่านยาวๆ เดี๋ยวไปร่อนแล้วจะกลับมาอ่านต่อครับ :D
รถผม เพราะแล้ว

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 07/03/11 00:39:56 »
ตำแหน่งการจัดวางลำโพง  เขียนโดย วิรัตน์ นพรัตน์เจริญสุข
 

มาดูความสำคัญของการจัดวางตำแหน่งลำโพงในรถยนต์กัน โดยหนึ่งในคำถามที่มักจะถูกถามบ่อย ๆ เกี่ยวกับการวางตำแหน่งลำโพง ตั้งแต่การหาตำแหน่งเพื่อใส่ลำโพงขนาดใหญ่ในรถเป็นเรื่องยากมากที่สุด ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเลย แต่น่าเสียดายที่หนึ่งในสิ่งแรกที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างระบบเสียงที่มีคุณภาพ คือการจัดวางตำแหน่งลำโพงนั้น มักจะอยู่ที่ด้านบนของรายการ ได้มีการเตือนผู้ติดตั้งเครื่องเสียงเสมอ อะไรที่ผมเรียกว่ากฎทองของเครื่องเสียงรถยนต์: "ลำโพงที่ดีในตำแหน่งที่ตั้งที่ดีสามารถให้ผลที่ดีกว่าลำโพงที่ดีในตำแหน่งที่ตั้งที่ไม่ดีเสมอ"

          ตำแหน่งที่ตั้งของลำโพงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของพารามิเตอร์ทั้งหมดของลำโพงอย่างแท้จริง นักติดตั้งเครื่องเสียงส่วนใหญ่จะรู้มาก่อนว่าการถ่ายทอดอิมเมจที่ดีนั้น จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าตำแหน่งที่ติดตั้งของลำโพงไม่เหมาะสม การรักษาระยะห่างที่เท่ากันและการติดตั้งที่ได้สมมาตรกันของลำโพงจากทางด้านซ้ายและขวาไปถึงผู้ฟัง ในระยะทางที่แน่นอน ไม่เพียงแต่จะได้รับเซ็นเตอร์อิมเมจ (center image) ที่ดีแล้ว แต่ยังได้รับเวทีเสียง (sound stage) ที่ได้สัดส่วนด้วยเช่นกัน แต่ในขณะที่นักติดตั้งเครื่องเสียงส่วนใหญ่จะไม่คิดว่าการติดตั้งลำโพงด้านซ้ายแตกต่างกว่าลำโพงด้านขวานัก และส่วนมากเลยก็ไม่ได้นึกถึงการแยกออกของลำโพงในระยะที่ห่างกันอย่างมาก ระหว่างลำโพงที่อยู่ตรงด้านเดียวกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/03/11 00:42:11 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 07/03/11 00:45:09 »
การแยกลำโพงมิดเร็นจ์และทวิตเตอร์
  การแยกออกของระยะห่างที่มากของตัวอุปกรณ์ เช่น ลำโพงทวิตเตอร์และมิดเร็นจ์  สามารถทำให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีกับความถูกต้องของระบบได้ น่าเสียดายที่ไม่มีลำโพงที่จะสามารถทำงานได้อย่างดีมากๆ ในการถ่ายทอดคลื่นความถี่เสียงได้ครบเต็มย่านเสียง (20Hz – 20kHz)  และเนื่องจากเป้าหมายของเราคือ การถ่ายทอดเสียงที่มีความถูกต้องเหมือนจริง เราจึงต้องพยายามถ่ายทอดเสียงเหล่านั้น ให้ตรงตามต้นฉบับอย่างเป็นธรรมชาติตามวิธีการที่พวกเขาถูกผลิตขึ้นมา ในธรรมชาตินั้น เสียงจะเกิดขึ้นได้เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน และเมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ทุกความถี่จากต่ำที่สุดไปจนถึงสูงสุด เป็นการกระจายออกจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน เนื่องจากเราไม่สามารถทำเช่นนี้กับลำโพงได้ เราจำเป็นที่จะต้องรวมหลาย ๆ ลำโพงเข้าด้วยกัน เพื่อให้ครอบคลุมแถบคลื่นเสียงทั้งหมด ด้วยการใช้ครอสโอเวอร์ ที่ทำให้เราสามารถ "แบ่ง" คลื่นความถี่เสียง ภายในช่วงความถี่เสียงแคบ ๆ และแจกจ่ายความถี่เหล่านั้นไปยังลำโพงแต่ละตัว เพื่อที่จะได้จัดการในแต่ละช่วงความถี่นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด

          ลำโพงหลาย ๆ ตัว ทำงานอย่างพร้อมเพียงกันได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าทุกอย่างทำอย่างถูกต้องแล้วละก็ ถือว่าทำได้ค่อนข้างดีใกล้เคียงความสมบูรณ์อย่างมากเลยทีเดียว ในเครื่องเสียงรถ มีคนเป็นจำนวนมากเลยที่ให้ความสนใจไปที่จุดตัดความถี่และความลาดชันของตัวเน็ทเวิร์ค แต่น้อยมากและถ้ามี ก็จะสนใจไปที่การวางตำแหน่งของตัวไดร์เวอร์ที่แท้จริง ในการใช้งานจริง ๆ ที่จะได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เมื่อทุกลำโพงที่อยู่ด้านเดียวกัน (ฝั่งเดียวกัน) คือถูกตั้งอยู่ด้วยกันในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้การแยกกันเพียงเล็กน้อย ก็สามารถสร้างข้อผิดพลาดได้ นั้นไม่ใช่สิ่งที่ง่ายในการแก้ปัญหาโดยวิธีการใด ๆ เราเพียงแต่แค่วางตำแหน่งลำโพงให้ใกล้ชิดกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/03/11 00:46:18 โดย qualityteam »
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 07/03/11 00:50:57 »
ผลการทดสอบ
 

          เพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างของวิธีการวางตำแหน่งของลำโพงมิดเร็นจ์ และ ทวิตเตอร์ ที่เราสามารถดำเนินการทดสอบเล็กน้อย ในการเริ่มต้นการทดสอบ เราเลือกลำโพงคู่ที่มีคุณภาพสูง ทำการแยกลำโพงและติดตั้งลำโพงบนแผ่นติดตั้ง โดยวางให้ใกล้กันเท่าที่จะสามารถติดตั้งได้ จากนั้นก็นำตัวอีควอไลเซอร์คุณภาพสูง มาทำการปรับแต่งการตอบสนองให้มีความราบแบนที่สุด ซึ่งเส้นที่มีความราบเรียบที่วัดได้จริง บนกราฟการทดสอบแสดงการวัดอ้างอิงที่ "ศูนย์" จากช่วงความถี่ 100 Hz ถึง 20 KHz (ดูรูปที่ 1) หลังจากนั้นนำมาเป็นตัววัดอ้างอิง แล้วทำการแยกลำโพงมิดเร็นจ์และทวิตเตอร์ ด้วยระยะห่างหนึ่งฟุต ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจว่า ไม่ได้มีการเปลี่ยนระยะห่างการวัดของลําโพงแต่ละตัวจากไมค์วัด เนื่องจากลำโพงยังคงอยู่บนระนาบการวัดเดียวกัน และยังได้ทำการวัดที่เหมือนกันนี้อีกครั้ง โดยครั้งนี้มีการเพิ่มการแยกระยะห่างของลำโพงออกเป็นสองฟุต

 


กราฟตำแหน่งการวางลำโพงรูปที่ 1

 

          เส้นกราฟที่เกิดขึ้นทั้งสองอัน แสดงผลกระทบบนกราฟการตอบสนองความถี่ที่ถูกวัดได้ของลำโพงที่เหมือนกัน เพียงแต่การแยกลำโพงมิดเร็นจ์และทวิตเตอร์เท่านั้นที่ถูกเปลี่ยนไป ในทุกกรณี ครอสโอเวอร์ แน่นอน ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ระยะห่างระหว่างลำโพงนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ให้สังเกตว่า การตอบสนองมีข้อผิดพลาดใหญ่ที่สุด คืออยู่ใกล้กับความถี่ครอสโอเวอร์ (จุดตัดครอส) 2,500 เฮิรซ์ และที่อยู่เหนือขึ้นไป โดยช่วงความถี่ที่ลำโพงทั้งสองมีการถ่ายทอดความถี่ออกมานั้นเหมือนกัน และจะได้รับผลกระทบที่มากกว่าเมื่อมีการแยกลำโพงออกห่างกันมากขึ้น ข้อเท็จจริงก็คือว่าเมื่อสัญญาณถูกแบ่งแยกไปแล้ว ก็มักจะยากที่จะให้มันรวมกันอย่างถูกต้อง เหมือนที่มันเป็นในตอนเริ่มต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยออกมาดีเท่าที่เราต้องการ แม้กับลำโพงและครอสโอเวอร์ที่ดีที่สุด
Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม

qualityteam

  • Administrator
  • ซี5
  • *****
  • กระทู้: 4,557
    • อีเมล์
Re: บทความดีๆ จาก CAR AUDIO MAG
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 07/03/11 03:26:05 »
ความลาดชันครอสโอเวอร์เป็นรองในการจัดวางตำแหน่ง
 

 

สิ่งที่ตลกและมักจะได้ยินอยู่เสมอก็คือว่า นักติดตั้งเครื่องเสียงมักจะกังวลเกี่ยวกับความลาดชันของครอสโอเวอร์และความถี่ที่ถูกต้อง แต่ไม่นึกถึงว่าพวกเขามีการแยกลำโพงออกในระยะห่างมากเท่าใด ความจริงก็คือตำแหน่งการวางของลำโพงมีความสำคัญอย่างมาก มากกว่าความถี่หรือความลาดชันที่ถูกต้องของครอสโอเวอร์เสียอีก เมื่อลำโพงมิดเร็นจ์และทวิตเตอร์มาจากตำแหน่งที่แตกต่างกัน ก็ไม่ได้มีความหวังมากว่า เสียงจะสอดคล้องกัน เหมือนกับรูปแบบของคลื่นต้นฉบับ กับการรวมลำโพงให้มาว่างอยู่ติดกัน โดยมีระยะการแยกออกมีค่าเท่ากับหนึ่งความยาวคลื่นที่ความถี่ครอสโอเวอร์ ก็อย่าหวังว่าจะได้การส่งผ่านคลื่นเสียงที่ดี ที่จะเป็นไปได้กับทุกมุมของการฟัง

ถ้าระยะห่างระหว่างตัวไดร์เวอร์ สามารถที่จะรักษาไว้กับหนึ่งส่วนสี่ของความยาวคลื่น หรือ น้อยกว่า เป็นไปได้ที่โดยรวมทั้งหมดดีกว่าอย่างมาก ในโลกแห่งความจริง อะไรที่ทำให้ระยะห่างเหล่านี้เกี่ยวข้องกัน? โดยปกติครอสโอเวอร์ของลำโพงมิดเร็นจ์กับทวิตเตอร์จะมีจุดตัดกันที่ 2.5 kHz - 3 kHz, นี้จะเท่ากับเป็นการแยกห่างออกจากกันประมาณ 2 นิ้วหรือน้อยกว่า และจะทำให้การกล่าวถึงนี้มีความชัดเจนมากอย่างขึ้น ก็คือการติดตั้งลำโพงในแบบโครแอ็คเชียลนั้นเอง ดังนั้น อะไรที่ส่งผลให้กับการทำทั้งหมดนี้? สถานการณ์นี้ก็จะกลายเป็นเรื่องคลาสสิกของ "ทำไมลำโพงเป็นเช่นอสังหาริมทรัพย์." ในลำโพงและอสังหาริมทรัพย์ มีสามสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ระบบเกิดเสียงที่ดี หรือ ทรัพย์สินที่มีค่า นั้นก็คือ ตำแหน่งที่ตั้ง ตำแหน่งที่ตั้ง และตำแหน่งที่ตั้ง

Quality  คือ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากดวามบังเอิญ แต่เกิดขึ้นได้จากความพยายาม